แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สติ๊กเกอร์ฉลากสินค้า แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สติ๊กเกอร์ฉลากสินค้า แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558

รู้จักสติ๊กเกอร์กันสักเล็กน้อย

สติ๊กเกอร์ฉลากสินค้า หรือ ฉลากผลิตภัณฑ์ ได้กลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญในธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการประเภทต่างๆ ซึ่งในทางด้านการตลาดแล้ว สติ๊กเกอร์ถือเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับผู้ประกอบการ เพราะสติ๊กเกอร์ที่สวยงามจะสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ตัวผลิตภัณฑ์นั้นๆ ได้ด้วย จึงเปรียบเสมือนกับเป็นภาพพจน์ของผลิตภัณฑ์ และยังเป็นการสร้างลักษณะเฉพาะให้กับผลิตภัณฑ์ เพื่อที่จะทำให้แตกต่างจากผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในตลาด ส่งผลให้ช่วยดึงดูดลูกค้าให้ลูกค้าสามารถจดจำได้ง่ายเมื่อกลับมาเลือกซื้ออีกครั้งได้ อีกทั้งยังเชื่อมโยงไปถึงภาพพจน์ของบริษัทอีกด้วย

ส่วนประกอบหลักของ สติ๊กเกอร์สามารถจำแนกได้ออกเป็น 4 ส่วนดังนี้ คือ
1.  Surface หรือ ผิวหน้า คือ ส่วนที่อยู่ด้านบนสุดของสติ๊กเกอร์เป็นส่วนที่จะรองรับการพิมพ์ มี 2 ประเภท คือ กระดาษ และฟิล์ม


2. Adhesive หรือ กาว คือ ส่วนที่เป็นตัวทำให้สติ๊กเกอร์ สามารถติด กับชิ้นงานได้แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
- Removable Adhesive คือ เป็นชนิดกาวที่มีความเหนียวปานกลาง แต่ไม่ทิ้งคราบกาวบนพื้นผิวที่แปะ เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการใช้ชั่วคราว หรือ แปะภาชนะรีไซเคิล
- Permanent Adhesive คือ เป็นชนิดกาวที่มีความเหนียว สามารถยึดเกาะกับพื้นผิวได้ดี โดยเฉพาะพื้นผิวเรียบ เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการแปะถาวร
- Strong Adhesive คือ เป็นชนิดกาวที่สามารถยึดเกาะกับพื้นผิวได้ดีกว่าแบบ Permanent เหมาะสำหรับพื้นผิวที่มีความโค้งงอ ขรุขระ
- Frozen Adhesive คือ กาวที่เหมาะสำหรับใช้กับสติ๊กเกอร์ ที่ต้องอยู่ในความเย็น หรือ ต้องสัมผัสกับความเย็นโดยตรง อย่างเช่น สติ๊กเกอร์ติดตู้ไอศกรีม หรือ ตู้เย็น เป็นต้น


3 Silicon คือ สารที่เคลือบอยู่บน liner หรือ กระดาษรองหลังสติ๊กเกอร์ การลอกสติ๊กเกอร์ยากง่ายนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณของ Silicon ที่เคลือบไว้บนกระดาษรองหลัง 

4.  Liner (Backing) คือ กระดาษรองสติ๊กเกอร์ อยู่ด้านท้ายสุดของ สติ๊กเกอร์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
 -  Glassine มีลักษณะเป็นกระดาษโปร่งแสง บาง สามารถเข้ากันได้ง่ายกับเครื่องพิมพ์ทุกชนิด
 -  Kraft (pond) มีลักษณะคล้ายกับกระดาษวาดรูป ซึ่งแข็ง หยาบและหนา เหมาะสำหรับงานพิมพ์ที่ไม่ต้องผ่านเครื่องพิมพ์
นอกจากส่วนประกอบสำคัญต่างๆ ของตัวสติ๊กเกอร์แล้ว การพิมพ์สติ๊กเกอร์ ยังสามารถแบ่งออกเป็น  2 ประเภทใหญ่ๆ เพื่อให้เหมาะกับความต้องการที่ต่างกันคือ


     1. Thermal Transfer Printing คือ การพิมพ์ที่ใช้ความร้อน โดยที่หัวพิมพ์จะส่งความร้อนไปที่หมึกพิมพ์ เพื่อทำให้หมึกพิมพ์ละลายลงไปที่สติ๊กเกอร์ ผลที่ได้จะทำให้เกิดรูปแบบต่างๆ ได้ตามความต้องการขอผู้ใช้ และมีคุณภาพสูง ละเอียด คมชัด คงทน อีกทั้งด้วยตัวสติ๊กเกอร์ยังออกแบบให้สามารถทนได้ ต่อสภาพอากาศในแบบต่างๆ เช่น ในห้องเย็นที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศา หรือ ในความร้อนมากกว่า 100 องศา เป็นต้น จึงทำให้สามารถใช้งานได้ในทุกรูปแบบของความต้องการ

     2. Direct Thermal Printing คือ เทคโนโลยีการพิมพ์ที่ใช้ความร้อนจากหัวพิมพ์ เปลี่ยนสารเคมีที่เคลือบอยู่บนสติ๊กเกอร์ ให้เป็นรูปแบบตามที่ต้องการบนเนื้อสติ๊กเกอร์โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้หมึกพิมพ์ เช่น กระดาษเครื่องโทรสาร และ ใบบันทึกรายการจากเครื่อง ATM เป็นต้น


Cr : http://www.logisticsdigest.com/